
คู่มือการติดต่อราชการของผู้รับบริการ / ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต เป็นหน่วยงานกลางของจังหวัดภูเก็ต ทำหน้าที่ในการบูรณาการความร่วมมือด้านการจัดการ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองปลอดภัย น่าอยู่น่าท่องเที่ยว
พันธกิจของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต
1.จัดวางระบบป้องกัน เตือนภัยจากสาธารณภัย ภัยฝ่ายพลเรือน และเตรียมความพร้อมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยว
2.ปฏิบัติการเชิงรุกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้วยโครงสร้าง เพื่อลดความรุนแรงและลดผลกระทบ
3.อำนวยการและดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว เป็นธรรมให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ที่มีภัย
4.จัดให้มีการจัดหาและสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลที่จำเป็น ในการป้องกันบรรเทาระงับ และช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
5.จัดให้มีการฟื้นฟูสิ่งสาธารณะประโยชน์ที่เสียหาย ร่างกาย จิตใจ สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพและการประกอบอาชีพอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงเป็นธรรมสอดคล้องกับความต้องการ
6.จัดให้มีการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ชุมชน และบูรณาการระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.ปฏิบัติการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และติดตามผลอย่างเป็นระบบ
8.ส่งเสริม พัฒนาการสร้างความตระหนัก และการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้ประชาชน ชุมชน และเครือข่ายมีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
9. พัฒนาความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการสาธารณภัย ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางและวิธีการให้บริการแก่ผู้รับบริการ |
ผู้รับบริการ |
แนวทางและวิธีการให้บริการ |
1. ผู้ประสบภัย |
1. ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย บรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ในระยะเร่งด่วน และให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
|
2. เป็นศูนย์กลางการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ระดับจังหวัด |
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
1. สนับสนุน ส่งเสริม และประสานการปฏิบัติ การฝึกอบรม อปพร. เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติงาน ช่วยเหลืองานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของท้องถิ่น |
|
2. ให้คำปรึกษา ระเบียบ นโยบาย ข้อกฎหมายในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
3. ผู้ประกอบการ |
1. ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้ ตลอดจนให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แก่สถานประกอบการต่าง ๆ ในพื้นที่ |
4. ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย |
1. ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเกิดภัย เช่น การฝึกให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการภัยได้ด้วยตัวเอง และการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
|
2. จัดหาเครื่องมือสำหรับการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย |
5. องค์กรภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
1. บูรณาการด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมกับองค์กรภาครัฐ และเอกชนในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
|
2. ซักซ้อมการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยประเภทนั้น ๆ เพื่อจัดวางระบบการบริหารจัดการภัย และแนวทางในการป้องกันและบรรเทาภัย |
ความต้องการ / ความคาดหวังของผู้รับบริการแนวทางและวิธีการสื่อสาร |
กลุ่มผู้รับบริการ |
บริการที่ให้ |
ความต้องการ / ความคาดหวัง |
แนวทางและวิธีการสื่อสารระหว่างกัน |
1. ผู้ประสบภัย |
1. สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยว
2. จัดหาและสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลที่จำเป็น ในการป้องกันบรรเทาระงับ และช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
3. ฟื้นฟูสิ่งสาธารณประโยชน์ที่เสียหาย ร่างกาย จิตใจ สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพและการประกอบอาชีพอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงเป็นธรรม
4. ส่งเสริม พัฒนาการสร้างความตระหนัก และการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้ประชาชน ชุมชน และเครือข่ายมีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5. ให้ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
|
- บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website และการประชุมร่วมกัน , ข่าวสารทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
1. วางระบบป้องกัน เตือนภัยจาก
สาธารณภัย
2. ปฏิบัติการเชิงรุกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อลดความรุนแรงและลดผลกระทบ
|
- บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website และการประชุมร่วมกัน,ข่าวสารทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
กลุ่มผู้รับบริการ |
บริการที่ให้ |
ความต้องการ / ความคาดหวัง |
แนวทางและวิธีการสื่อสารระหว่างกัน |
|
3. อำนวยการและดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว ทั่วถึงและเป็นธรรมทุกพื้นที่
4. จัดหาและสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลที่จำเป็น ในการป้องกันบรรเทาระงับ และช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
5. ฟื้นฟูสิ่งสาธารณประโยชน์ที่เสียหาย ตลอดจนร่างกาย และ จิตใจ สิ่งจำเป็นต่อการยังชีพและการประกอบอาชีพอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงเป็นธรรมสอดคล้องกับความต้องการ |
|
|
3. ผู้ประกอบการ |
1. วางระบบป้องกัน เตือนภัยเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้ประกอบการ |
- บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website และการประชุมร่วมกัน, ข่าวสารทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
4. ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย |
1. สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย |
- บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website และการประชุมร่วมกัน, ข่าวสารทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
5. องค์กรภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
1. วางระบบป้องกัน เตือนภัยเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้ประกอบการ |
- บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website และการประชุมร่วมกัน, ข่าวสารทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
ผู้มีส่วนได้เสีย |
ความต้องการ / ความคาดหวัง |
แนวทางและวิธีการสื่อสารระหว่างกัน |
ประชาชนทั่วไป / นักท่องเที่ยว |
- บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website และการประชุม. ฝึกซ้อมแผน, ประสานงาน,ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
สมาชิก อปพร. OTOS |
- ให้ความรู้ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย , เป็นที่ปรึกษาด้านข้อมูลสาธารณภัย บริการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก สามารถป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงที |
หนังสือราชการ, โทรศัพท์, โทรสาร ,Website , การประชุมร่วมกัน และการฝึกซ้อมแผน, ประสานกับเจ้าหน้าที่, ข่าวสารทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
***********************************
การแจ้งขอรับการช่วยเหลือจากเหตุสาธารณภัย / อุบัติภัย |
1.1 กลุ่มผู้รับบริการ : ประชาชน (ผู้ประสบภัย) / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย / อำเภอ
1.2 เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง
· พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550
- ความหมายของสาธารณภัย
- การจัดโครงสร้าง ระบบ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกระดับ
- กำหนดหน่วยงาน และบุคคล ที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
· ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2549
- หลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- กำหนดผู้มีอำนาจในการอนุมัติเบิกจ่ายเงินทดรองราชการฯ
- กำหนดผู้รับผิดชอบและขั้นตอนในการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการฯ
· พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ.2543
- กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความช่วยเหลืออาสาสมัครหรือผู้ที่ช่วยเหลืองานราชการ
ที่ประสบภัยจากการปฏิบัติหน้าที่
· คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ จังหวัดภูเก็ต (ก.ช.ภ.จ.ภก.)
· หนังสือสั่งการ และแนวทางการซักซ้อมการปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
1.3 เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง ที่ประชาชนผู้ประสบภัย และ อปท. ต้องรวบรวมเพื่อใช้ประกอบการขออนุมัติ
ใช้จ่ายเงินทดรองราชการ
§ แบบสอบสัมภาษณ์ผู้ประสบภัย (ระบุรายละเอียดของผู้ประสบภัย พื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย)
§ คำร้องขอรับการช่วยเหลือ
§ สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนา
§ สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนา
§ สำเนาใบแจ้งความ (กรณีเหตุอัคคีภัย)
§ หนังสือรับรองบ้านไม่มีเลขที่ (ถ้ามี) ลงนามโดยผู้นำชุมชน / อปท.
§ หนังสือรับรองบ้านเช่า (ถ้ามี) ลงนามโดยผู้นำชุมชน / อปท.
§ หนังสือรับรองนักเรียน / นักศึกษา (ถ้ามี) ลงนามโดยครู/อาจารย์สถานศึกษานั้นๆ
§ สำเนาใบมรณะบัตรและหนังสือรับรองการเสียชีวิต (กรณีมีผู้เสียชีวิต)
§ ใบรับรองแพทย์ (กรณีบาดเจ็บและเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป)